น้ำหนักมาตรฐานทอง
//=$pageData['StartDate'] // date_default_timezone_set("Asia/Bangkok"); //echo date('Y-m-d', strtotime($pageData['StartDate'])); ?>
28 กุมภาพันธ์ 2568
“น้ำหนักทองคำ” ตามเกณฑ์ของสมาคมค้าทองคำ ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณจะต้องมีน้ำหนักเต็ม ในขณะเดียวกัน การชั่งน้ำหนักทอง ร้านทองจะต้องใช้เครื่องชั่งที่เห็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง และควรเป็นเครื่องชั่งดิจิทัล เพื่อจะได้เห็นน้ำหนักที่ชัดเจน
(ทองคำในบทความนี้คือ ทองคำ 96.5%)
น้ำหนักทองมีกี่ขนาด?
แม้จะมีคำเรียกน้ำหนักทองอยู่หลายแบบ แต่เพื่อความเข้าใจที่ง่าย สามารถแบ่งน้ำหนักทองเป็น 2 ขนาด คือ บาท กับ สลึง
น้ำหนักทอง 1 บาท แบ่งออกได้ 4 สลึง การซื้อขายทองคำที่เป็น “สลึง” จะเป็นหน่วยย่อยของ “บาท” เสมอ โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์
น้ำหนักทอง 1 บาท น้ำหนักทองแท่ง เมื่อเรียกเป็นบาท 1 บาท จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 15.244 กรัม และทองรูปพรรณ น้ำหนัก 15.16 กรัม เพราะฉะนั้นเมื่อต้องการซื้อทอง 2 บาท เป็นต้นไป ก็เอาจำนวนบาทมาคูณ
แต่หากซื้อน้ำหนักทองครึ่งหนึ่งของ “บาท” โดยทั่วไปจะไม่เรียกว่า “ครึ่งบาท” แต่เรียกว่า “2 สลึง” น้ำหนักกรัมของทองแท่งจะเท่ากับ 7.622 กรัม และทองรูปพรรณจะเท่ากับ 7.58 กรัม
น้ำหนักทอง 1 สลึง มีน้ำหนักกี่กรัม?
เนื่องจากหน่วยชั่งตวงวัดของไทย แบ่งน้ำหนัก 1 บาท ออกเป็น 4 สลึง ดังนั้น น้ำหนักทอง 1 สลึง คิดจากน้ำหนักทอง 1 บาท นำมาหารด้วย 4
- ทองแท่ง 1 สลึง จะต้องมีน้ำหนัก 3.811 กรัม
- ทองรูปพรรณ 1 สลึง จะต้องมีน้ำหนัก 3.79 กรัม
และเนื่องจากปัจจุบันมีการค้าขาย จี้ ต่างหู หรือ แหวน ขนาดครึ่งสลึงด้วย เพราะฉะนั้นวิธีคิดน้ำหนักทองครึ่งสลึง ก็ต้องนำน้ำหนักทองสลึงมาหารด้วย 2
คำถามที่มักจะพบบ่อย คือ น้ำหนักทอง 1, 0.6, 0.3 กรัม คิดเป็นกี่สลึง กี่บาท?
ในปัจจุบันมีการทำทองรูปพรรณไม่ว่าจะเป็น แหวน สร้อยคอ ข้อมือ หรือแม้กระทั่งทองแท่งที่เป็นแผ่นทอง จึงจัดอยู่ในกลุ่มทองรูปพรรณ เมื่อเทียบตามน้ำหนักชั่งตวงวัดของไทย จะน้อยกว่าน้ำหนักทองครึ่งสลึง (1.895) เสียอีก โดยคิดเป็น 1 ใน 3 ของทองครึ่งสลึง จึงยากที่จะเรียกว่าเป็นทองกี่บาท กี่สลึง ผู้ซื้อผู้ขายจึงนิยมเรียกทอง 0.6 กรัมตามหน่วยกรัมค่ะ